1. ดูจากวันหมดอายุที่พิมพ์ไว้ที่ฉลาก กล่องหรือแผงบรรจุยา ซึ่งมักจะระบุเป็นภาษาไทยว่า “วันหมดอายุ”หรือ “ยาสิ้นอายุ” หรือระบุเป็นภาษาอังกฤษว่า “Exp. Date” หรือ “Expired Date” หรือ “Exourt Date” หรือ”Use before” เป็นต้น ถ้ายานั้นอยู่นานเกินกว่าวันที่ระบุไว้ก็ไม่ควรนำมาใช้
2. ดูจากวันที่ผลิตมักจะระบุควบคู่กับวันหมดอายุ ยาบางชนิดที่ผลิตมานาน เกินกว่า 5 ปี ไม่ควรใช้ เพราะตัวยาบางอย่างอาจเสื่อมสภาพได้
3. ดูจากสภาพของยา ดังนี้
-3.1 ยาเม็ด ให้ดูว่ามีสีต่างไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าเป็นเม็ดยาที่เคลือบน้ำตาล เม็ดยาต้องไม่แตก ไม่เยิ้ม ถ้าเป็นชนิดแคปซูลต้องไม่บวมพอง และไม่มี
ตัวยาซึมออกมา
-3.2 ยาน้ำ ถ้าเป็นชนิดน้ำใส ยาที่ดีต้องไม่มีตะกอน ไม่แยกชั้น สี กลิ่น รสของยาต้องไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอนต้องไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง หรือเละ เขย่าไม่ออก
-3.3 ยาครีม เนื้อยาต้องเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกตัวเป็นน้ำใส และเนื้อครีมต้องไม่หยาบ
-3.4 ยาหยอดตา ไม่ควรมีลักษณะขุ่นหรือตกตะกอน ยาหยอดตาบางชนิดต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำ เช่น ในตู้เย็น ช่องธรรมดา เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของยาก่อนกำหนด โดยทั่วไปเมื่อเปิดใช้แล้วไม่ควรเก็บนานเกิน 1 เดือน
4. หากฉลากยาไม่ปรากฏข้อมูลความชัดเจนใด ๆ ไม่แน่ใจว่าได้มาอย่างไร เมื่อไร ก็ไม่ควรใช้ยานั้น
5. การเก็บรักษายาที่ดี ควรจัดเก็บในภาชนะที่เหมาะสม เช่น กระปุกยา ซองยา ฯลฯ จัดไว้ให้เป็นที่เป็นทางเช่น ในตู้ยา ในกล่อง ในถุง ในลิ้นชัก หรือในตู้ เป็นต้น ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงทั้งแสงความร้อน และความชื้น เพราะทั้งสามสิ่งนี้จะส่งผลต่อความคงตัวของยา จึงควรเก็บยาให้พ้นแสง อย่าให้ร้อนเกินไป และไม่ควรมีความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลทำลายคุณภาพของยาได้ ยาที่เก็บเป็นระยะเวลานานก็ไม่ควรนำมาใช้
No comments:
Post a Comment