Thursday, July 29, 2010

Charlemagne


Charlemagne (pronounced ; Latin: Carolus Magnus or Karolus Magnus, meaning Charles the Great; possibly 74228 January 814) was King of the Franks from 768 and Emperor of the Romans (Imperator Romanorum) from 800 to his death. He expanded the Frankish kingdom into an empire that incorporated much of Western and Central Europe. During his reign, he conquered Italy and was crowned Imperator Augustus by Pope Leo III on 25 December 800. This temporarily made him a rival of the Byzantine Emperor in Constantinople. His rule is also associated with the Carolingian Renaissance, a revival of art, religion, and culture through the medium of the Catholic Church. Through his foreign conquests and internal reforms, Charlemagne helped define both Western Europe and the Middle Ages. He is numbered as Charles I in the regnal lists of France, Germany (where he is known as Karl der Große), and the Holy Roman Empire.

The son of King Pepin the Short and Bertrada of Laon, he succeeded his father and co-ruled with his brother Carloman I. The latter got on badly with Charlemagne, but war was prevented by the sudden death of Carloman in 771. Charlemagne continued the policy of his father towards the papacy and became its protector, removing the Lombards from power in Italy, and leading an incursion into Muslim Spain, to which he was invited by the Muslim governor of Barcelona. Charlemagne was promised several Iberian cities in return for giving military aid to the governor; however, the deal was withdrawn. Subsequently, Charlemagne's retreating army experienced its worst defeat at the hands of the Basques, at the Battle of Roncesvalles (778) memorialised, although heavily fictionalised, in the Song of Roland. He also campaigned against the peoples to his east, especially the Saxons, and after a protracted war subjected them to his rule. By forcibly converting them to Christianity, he integrated them into his realm and thus paved the way for the later Ottonian dynasty.

Today he is regarded not only as the founding father of both French and German monarchies, but also as the father of Europe: his empire united most of Western Europe for the first time since the Romans, and the Carolingian renaissance encouraged the formation of a common European identity.





เทศกาลอีสเตอร์ (Easter)

อีสเตอร์ (Easter) หมายถึง การระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ หรือวันคืนพระชนม์ เข้าใจว่าอีสเตอร์มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ คือคำว่า Eastre ซึ่งเป็นชื่อเทพธิดาของฤดูใบไม้ผลิ ผู้รู้บางท่าน กล่าวว่าอาจมาจากภาษาเยอรมันโบราณ คือ คำว่า Eostarun ซึ่งแปลว่ารุ่งอรุณ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำเอาชื่อเทพธิดาฤดูใบไม้ผลิต Eastre หรือคำว่ารุ่งอรุณ Eostarun ของภาษาเยอรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาอังกฤษว่า Easter เพื่อใช้เรียกวันคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ นักวิชาการบางท่านได้ให้ข้อคิดว่า การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับฤดูใบไม้ผลิตอย่างน้อย 2 ประการ

ประการแรก วันอีสเตอร์อยู่ในช่วงเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิต คือระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน

ประการที่สอง ฤดูใบไม้ผลิตเป็นสัญญาลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะระหว่างฤดูหนาวที่หิมะตก หรืออากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีใบ มีลักษณะเหมือนตายไปแล้ว แต่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาถึง ต้นไม้ที่ดูเหมือนตายไปแล้วก็ผลิใบ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ใช้คำว่า Easter สำหรับวันฟื้นคืนพระชนม์

สัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ ได้แก่ สิ่งที่สื่อความหมายถึงความสุข สมหวัง ชัยชนะ ความอบอุ่น ความสดใส ภาพที่ปรากฎบนการ์ดอวยพรในเทศกาลนี้จึงเป็นภาพ

-สวนดอกไม้ ซึ่งสื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง

-ผีเสื้อ สื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือหุ้ม และโบยบินขึนสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

-กระต่าย สื่อความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์

-ไข่ สื่อความหมายถึงความมีชีวิต


คำอวยพรในการ์ดสำหรับเทศกาลอีสเตอร์ สำหรับคริสตชน จะอวยพรกันในประโยคที่ว่า "ขอให้พระพรแห่งการฟื้นคืนพระชนม์เป็นของคุณ"


ของที่ระลึกสำหรับเทศกาลนี้ นิยมมอบช็อกโคเล็ดรูปไข่ หรือ ตุ๊กตาช็อคโกเล็ครูปกระต่าย ,ไข่ต้มย้อมสี หรือวัสดุรูปไข่ที่ประดิษฐ์ด้วยงานศิลป

สำหรับในปี 2006 เทศกาลอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 14-15-16 เมษายน คริสตจักรต่าง ๆ จะเริ่มต้นเทศกาลนี้ด้วยการนมัสการพระเจ้าในค่ำคืนวันที่ 14 เมษายน เพื่อระลึกถึงวันที่พระเยซูคริสต์ทรงสละชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อ ความผิดบาปของเรา ซึ่งเราเรียกวันนี้ว่า วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday

ส่วนที่วันที่ 16 เมษายน บางคริสตจักรมีการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์หรือวันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ด้วยการนมัสการพระเจ้าตั้งแต่เวลา 06.00 น. บางคริสตจักรก็จัดเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในช่วงเวลานมัสการปกติ

ประเพณีซ่อนไข่ จัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน โดยนำไข่ที่จัดเตรียมไว้ซึ่งมักจะเป็นไข่ต้มที่ย้อมสีต่างๆ อย่างสวยงาม อาจจะวาดเป็นลวดลาย หรือประดิษฐ์เป็นงานศิลปแบบต่าง ๆ นำไปซ่อนไว้ตามบริเวณต่างๆ ของคริสตจักร และให้สมาชิกของคริสตจักรหาไข่เหล่านั้น บางคริสตจักรอาจจะมีรางวัลสำหรับผู้ที่หาไข่ได้มากอีกด้วย

แม่ชีเทเรซา

ประวัติ

แม่ชีเทเรซา เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ที่เมืองสโกเปีย จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศมาซิโดเนีย) เป็นบุตรคนสุดท้องของบิดานิโกลา (Nikola) กับมารดาเดรน (Drane Bojaxhiu) ครอบครัวชนชั้นกลางเชื้อสายอัลเบเนีย เธอมีชื่อเดิมว่า "แอ็กเนส กอนจา โบยาจู" (Agnes Gonxha Bojaxhiu) มีบิดาเป็นชาวคริสต์ที่เคร่งครัดในหลักศาสนา ซึ่งทำให้ตั้งแต่วัยเด็กแอ็กเนสชอบไปโบสถ์ฟังหลวงพ่อเทศน์มาโดยตลอด ขณะแอ็กเนสมีอายุ 9 ปี ในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) บิดาของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ความอบอุ่นภายในครอบครัวที่แอ็กเนสได้รับก็ไม่ได้ลดลง ด้วยเพราะมารดายังให้ความรักความอบอุ่นและการเลี้ยงดูที่ดีมาตลอด แอ็กเนสเติบโตขึ้นเป็นเด็กร่าเริง และมีสุขภาพดี และไม่นานต่อมาเธอก็ได้รู้จักกับประเทศอินเดีย แต่ก็ได้รู้ว่าอินเดียในขณะนั้นมีระบบสาธารณูปโภคที่ยังล้าหลังอยู่มาก มีคนยากไร้มากมายในประเทศที่ต้องทนทรมาน และเริ่มสงสัยว่า จะมีวิธีใดบ้างไหมที่เธอจะได้ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากในอินเดีย ซึ่งในช่วงเวลานี้นี่เองที่แอ็กเนสเริ่มมีความคิดที่จะบวชเป็นแม่ชี ในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แอ็กเนสตัดสินใจขออนุญาตครอบครัวเพื่อขอบวชเป็นแม่ชี ตอนแรกครอบครัวคัดค้าน แต่ต่อมาไม่กี่วันทางครอบครัวก็ยอมให้เธอบวช แอ็กเนสเดินทางไปบวชที่สำนักชีโลเรโต (Sisters of Loreto) ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งการลาจากจากครอบครัวของเธอในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่เธอจะได้เห็นหน้าของแม่และน้องสาวแอ็กเนสตั้งใจศึกษาเล่าเรียนวิชาที่แม่ชีพึงได้เรียนเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นจึงเดินทางไปยังประเทศอินเดียในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และได้เริ่มออกเผยแผ่คำสอนในเมืองดาร์จีลิง รัฐสิกขิม ทางเหนือของประเทศอินเดีย โดยเธอได้พักอยู่ที่สำนักชีโลเรโตที่ตั้งอยู่ที่เมืองดาร์จีลิง ในพ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) แอ็กเนสตัดสินใจเข้าสาบานตนเป็นแม่ชีในสำนักชีโลเรโต ในเมืองดาร์ลีจิงเป็นครั้งแรก และตอนนี้เองที่แอ็กเนสได้รับสมญาทางศาสนา (ชื่อทางศาสนา) ว่า แม่ชีเทเรซา และแม่ชีเทเรซา ได้สาบานตนครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) หลังจากสาบานตนเป็นแม่ชีครั้งสุดท้ายแล้ว แม่ชีเทเรซาได้เข้าเป็นครูวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ในโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย ในเมืองเอนทาลี นครกัลกัตตา ไม่นาน ก็ได้เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรีย พาตนเองและเหล่านักเรียนผ่านเหตุการณ์เลวร้าย ที่เกิดจากผลกระทบของเหตุการณ์รุนแรงและสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องใน อินเดียมาได้ด้วยดี

บั้นปลายชีวิต

พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) ขณะคุณแม่เทเรซาไปเยี่ยมสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งในอิตาลี ทานก็เริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจ และมีอาการกำเริบครั้งแรก โดยมีหัวใจเต้นอ่อนเกินไป แต่ปลอดภัย หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซาก็ทำงานอยู่เหมือนปกติ แต่อาการโรคหัวใจก็มาเยือนอยู่เรื่อยๆ จนในที่สุด คุณแม่เทเรซา ได้ยื่นจดหมายต่อพระสันตะปาปา ว่า ขอลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า พร้อมกับอยากให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อเลือกผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งจากตน ตอนแรกเหล่าแม่ชีต่างคัดค้าน แต่เมื่อรู้ว่าคุณแม่เทเรซาจะให้จัดการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่ง จึงเทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา แล้วผลการเลือกตั้งก็คือ คุณแม่เทเรซาก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นหัวหน้าคณะฯ อีกครั้ง การทำงานของท่านก็มีอาการโรคหัวใจกำเริบมารบกวนท่านบ่อยขึ้น อาการป่วยในระดับหนักมากเกิดขึ้นกับแม่ชีเทเรซาอีกใน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และอีกครั้งใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากนั้น คุณแม่เทเรซา ก็ป่วยหนักถึงขนาดล้มหมอนนอนเสื่อ ลุกนั่งไม่ได้ เมื่อคุณแม่เห็นว่าตนคงไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้าอีกครั้ง ครั้งนี้เหล่าแม่ชีเห็นว่า คุณแม่เทเรซาควรได้พักผ่อน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย จึงไม่คัดค้านในการลาออกของคุณแม่เทเรซา และไม่เทคะแนนเสียงให้คุณแม่เทเรซา เพื่อให้คุณแม่ได้พักรักษาตัวไม่ต้องมีภารกิจ ดังนั้นแม่ชีนิรุมาราได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระ เจ้าแทนคุณแม่เทเรซา 5 เดือนครึ่งต่อมา ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) คุณแม่เทเรซาได้เสียชีวิตลงที่บ้านของคุณแม่ในอินเดีย ขณะอายุ 87 ปี กับอีก 10 วัน โดยคำพูดคำสุดท้ายที่คุณแม่ได้พูดออกมาคือ "หายใจไม่ออกแล้ว" ทางการอินเดียได้จัดพิธีศพของคุณแม่เทเรซาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นงานศพระดับชาติ (งานศพของบุคคลที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อประเทศนั้นๆ) ของทางการอินเดีย ในช่วงเวลาที่คุณแม่เสียชีวิต คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้ามีแม่ชีมากว่า 4,000 คนและอาสาสมัครกว่าอีก 1 แสนคน ซึ่งอัตรานี้ครอบคลุมไปถึงกว่า 610 แห่ง 123 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันร่างของแม่ชีนอนหลับอยู่ที่บ้านคุณแม่ในอินเดีย

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้คุณแม่เป็น นักบุญราศี