Saturday, November 19, 2011

เฉาก๊วยทำมากจากอะไร?

เฉาก๊วยทำมาจาก หญ้าชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับมินต์ มีชื่อเรียกว่าอย่างเป็นทางการ 'Mesona chinensis' ส่วนคนไทยเราจะเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า 'หญ้าเฉาก๊วย'
หญ้าเฉาก๊วยสามารถพบได้มากในประเทศจีน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ขนมหวานชนิดนี้จะมีที่มาจากเมืองจีน และมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน
ในหมู่ของคนจีนเองก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า 'เหลียงเฝิ่น' หรือ 'เซียนเฉ่า' ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า 'จินเจา' เป็นต้น

วิธีการทำเฉาก๊วยก็ไม่ยากไม่เย็นอะไรนัก เพียงแค่นำหญ้าเฉาก๊วยมาต้มจนเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำออกมาจะได้น้ำที่เป็นสี ดำโดยปริยาย (แต่พ่อค้าแม่ค้าบางรายที่ต้องการให้สีดูดำมากขึ้นก็จะใส่สีผสมอาหารลงไป ด้วย) จากนั้นผสมกับแป้งมันสำปะหลังเพื่อช่วยในการจับตัว ทิ้งไว้จนเย็นก็จะมีลักษณะเป็นวุ้นเท่านี้ก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นกระบวนการทำเฉาก๊วย

แม่น้ำบางปะกง

แม่น้ำบางปะกง

ลำน้ำบางปะกงมีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพงบนที่ราบสูงโคราช ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี (เรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี) ผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (เรียกว่าแม่น้ำแปดริ้ว) ผ่านอำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง ระยะทาง 230 กิโลเมตรและมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 100 เมตร แม่น้ำบางปะกง มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีความยาวตลอดลำแม่น้ำ 122กิโลเมตร

แม่ น้ำบางปะกงไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่บริเวณตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราและปริมาณการไหลของแม่น้ำบางประกงในแต่ละปี โดยเฉลี่ยแล้ว หลังเดือนเมษายน คือเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ปริมาณน้ำในแม่น้ำบางปะกงจะเพิ่มขึ้นสูงตามลำดับ จนถึงประมาณเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นปริมาณการไหลของน้ำจะค่อยๆลดลงหลังจากหมดฤดูฝน ซึ่งปริมาณน้ำจะน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม เมื่อเริ่มเข้าเดือนเมษายนในปีถัดไปปริมาณการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นอีกเป็น วัฏจักร ลุ่มน้ำบางปะกง มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 7,978 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดชลบุรี มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 3,712 ล้าน ลบ.ม.

Monday, November 7, 2011

เปิดไฟนอนระวังสมองเสื่อม!

ใครที่ชอบเปิดไฟทิ้งไว้ ระหว่างนอนหลับ รู้หรือไม่ว่า ก่อให้เกิดผลเสียต่อสมอง และทำให้ความงามลดลงอีกด้วย

อาจฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่นั่นเป็นเพราะเรตินาในลูกตาที่มีความไวต่อแสง ยังส่งสัญญาณไปสู่สมองอยู่ จึงไม่มีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (ที่ทำให้รู้สึกง่วง) ดังนั้น ถึงหลับก็หลับไม่สนิท จะสังเกตพบว่า เมื่อตื่นขึ้นมา จึงไม่รู้สึกสดชื่น หรือกระปรี้กระเปร่าอย่างที่ควรจะเป็น อารมณ์ไม่แจ่มใส ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ในระหว่างวันประสิทธิภาพการจัดการความจำของสมองก็ไม่ดี เนื่องจากการนอนที่ด้อยคุณภาพ

ผลการศึกษาของนักวิจัยในต่างประเทศพบว่าการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินยังมีผลต่อสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิต สภาวะสมดุลของกลูโคส รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายอย่างไรก็ตามนักวิจัยคาดว่าในอนาคตจะมีการศึกษาต่อไปถึงการปล่อยให้เด็กนอนหลับโดยเปิดไฟทิ้งไว้ จะส่งผลต่อพัฒนาการของตา โดยเสี่ยงต่อการมีสายตาสั้นหรือไม่ด้วย

ดังนั้นการควบคุมเรื่องแสงสว่างไม่ให้มารบกวนยามหลับรวมถึงการจัดห้องให้ปลอดโปร่งเอื้อต่อการพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ จึงสามารถป้องกัน และชะลอสภาวะการทำงานของสมองไม่ให้เสื่อมลงได้