Thursday, September 29, 2011

ทำไมผู้หญิงซาอุถึงขับรถไม่ได้?

หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ อาหรับ นิวส์ ซึ่งออกในซาอุดี้ ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์รายการโทรทัศน์นี้ โดยอ้างคำพูดของชี้คว่า ไม่มีเหตุผลที่จะกล่าวหาว่า การขับรถจะทำให้ผู้หญิงออกห่างจากศาสนา ดังเช่นที่กลุ่มอุละมะอฺหัวอนุรักษ์กำลังทำอยู่ และการขับรถของผู้หญิงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งไม่จำเป็นต้องออกคำฟัตวา

ชี้คยังกล่าวอีกว่าการห้ามผู้หญิงขับรถโดยอ้างว่าพวกเธออาจจะถูกละเมิดทางเพศเป็นข้อบ่งชี้ว่าไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการศึกษาของประเทศ ซึ่งสอนให้รู้จักแยกแยะความถูก-ผิด โดยอาศัยหลักการของอิสลามนั่นเอง

ในอีกด้านหนึ่ง Nasser al-Oud อาจารย์ด้านสังคมมองว่าการขับรถของผู้หญิงเป็นประเด็นด้านวัฒนธรรม ซึ่งควรจะมีการศึกษาวิจัยจากหลายแง่มุมซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยหรือสำรวจอย่างชัดเจนว่าคนขับรถที่เป็นชาวต่างชาติในสังคมซาอุดี้ ทำให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

ตามข้อมูลของอาจารย์ al-Oud ในซาอุดี้มีคนขับรถประมาณ 740,000 คน ซึ่งอาจารย์เห็นว่าคนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสังคมโดยรวม อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ทำให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศ หลายกรณีคนขับรถเข้าไปแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับเรื่องในครอบครัว บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม รวมทั้งการลักลอบค้ามนุษย์

เขายังกล่าวอีกว่า สังคมซาอุดี้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันใด รวมทั้งสิ่งที่จะทำให้ดูเหมือนลดบทบาทของผู้ชายที่เคยเป็นใหญ่ และได้รับการยอมรับ แต่ในกรณีการขับรถ หัวหน้าครอบครัวกลับไม่ได้ทำหน้าที่ในการเติมเต็มความต้องการของสมาชิกในบ้าน แต่กลับเป็นคนขับรถมากกว่าที่ได้รับความสำคัญ

อีกความเห็นหนึ่งของ มุฮัมมัด อัล-ซุลฟา อดีตสมาชิกสภาชูรอ ซึ่งเห็นว่าผู้หญิงปัจจุบันไม่ได้เปราะบางเหมือนเมื่อก่อน เธอมีความเข้มแข็งมากกว่าที่ผู้ชายคิด โดยเฉพาะบรรดาแม่หม้าย และหญิงที่ถูกสามีหย่า ซึ่งหลายคนต้องหาเลี้ยงคนทั้งครอบครัวเพียงลำพัง

ซุลฟายังย้ำว่าเราต้องมีความเชื่อมั่นในความศรัทธาของเหล่าสตรีรวมทั้งต้องออกฟัตวาใหม่เพื่อมาล้มล้างฟัตวา หรือกฎหมายเก่าๆ ที่ล้าสมัย รวมทั้งสภาชูรอต้องยกประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับผู้หญิงขึ้นมาถกกันใหม่ เขาเห็นว่าเรื่องการขับรถของผู้หญิง เป็นกรณีปัญหาด้านวัฒนธรรม และสังคม ซึ่งการให้รัฐบาลเข้ามาตัดสินในเรื่องนี้น่าจะดีกว่า

ซุลฟาและบินบาซ มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้ เขาทั้งคู่เห็นว่าการขับรถก็เช่นเดียวกับการศึกษา การสาธารณสุข รวมทั้งการได้รับอนุญาตให้มีอิสระในการสัญจร หรือการใช้รถโดยสารสาธารณะ ซึ่งรัฐบาลต้องให้สิทธิ์พื้นฐานเหล่านี้แก่ประชาชนอยู่แล้ว

Monday, September 26, 2011

ปลาย่างและปลาอบดีต่อหัวใจ


ผลการวิจัยเสนอแนะให้เราเลือกรับประทานปลาย่างและปลาอบ แทนที่จะทานปลาทอดกรอบที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ

ถ้า คุณกำลังคิดเมนูสำหรับอาหารเย็นของวันนี้อยู่ว่าจะทำอะไรดี ก็ลองอ่านผลการวิจัยนี้ดูก่อน เพราะผลวิจัยระบุเอาไว้ว่าการรับประทานปลาย่างและปลาอบสัปดาห์ละ 5 ครั้ง จะช่วยลดโอกาสในการเกิดหัวใจล้มเหลวได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ส่วน ใครที่ยังนิยมชมชอบการรับประทานปลาทอดอยู่นั้น ข่าวร้ายก็คือ การรับประทานปลาทอดกรอบเพียงแค่สัปดาห์ละครั้ง ก็มากพอที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลวได้ถึง 48 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

การศึกษาครั้งนี้ทำขึ้นในสหรัฐอเมริกา และมีการเปิดเผยผลการศึกษาในวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการรับประทานปลาชนิดต่างๆ ว่ามีผลแตกต่างกันอย่างไร โดยชนิดของปลาที่เป็นตัวเลือกที่ดีที่ควรรับประทานก็คือปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาทะเล ดีกว่าที่จะเลือกรับประทานปลากระพง ปลาค็อด ปลาตาเดียว และปลาทูน่า โดยที่ปลาที่มีสีเข้มกว่าจะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 มากกว่า และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจมากกว่าปลาประเภทอื่นเช่นกัน

ใน การวิจัยที่ใช้เวลาถึง 10 ปีนี้ นักวิจัยจาก Northwestern University Feinberg School of Medicine ในชิคาโก เก็บข้อมูลจากผู้หญิงที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือน 84,493 คน

ส่วน การวิจัยที่ผ่านมาก็เคยมีการพบความเกี่ยวข้องระหว่างกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปลา และการช่วยลดอาการอักเสบและช่วยทำให้ความดันโลหิตดีขึ้น และการวิจัยก่อนหน้านี้ก็ยังเคยระบุอาไว้ว่าปลาทอดจะเพิ่มกรดไขมันทรานส์ใน อาหาร ซึ่งก็จะนำไปสู่การเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจนั่นเอง

เพราะ ฉะนั้นหากคุณคิดว่าจะเพิ่มปลาเข้าไปในเมนูอาหารประจำสัปดาห์แล้วล่ะก็ มีตัวช่วยมากมายที่จะทำให้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการหาซื้อปลาที่ดีต่อ สุขภาพ โดยหนึ่งในนั้นก็คือ Blue Ocean Institute ซึ่งเป็นองค์กรที่จะเสนอแนะทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับการวางแผนเมนูอาหาร และมีคู่มือให้ความรู้ให้เลือกดาวน์โหลด โดยที่ในคู่มือก็จะประกอบด้วยภาพของปลาสายพันธุ์ต่างๆ การเปรียบเทียบระหว่างปลาเลี้ยงและปลาในธรรมชาติ โดยจะระบุถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพด้วย และทั้งหมดนี้สามารถเข้าไปหาเพิ่มเติมได้ที่ blueocean

Monday, September 19, 2011

ชีส

ชีสนั้นมีคุณค่าทางอาหารไม่น้อยเพราะชีสนั้นทำมาจากนม 100% เต็ม ได้แก่ นมวัว นมแกะ และนมแพะ

ชีสที่ทำจากนมวัว เป็นชีสที่คนนิยมมากที่สุดโดยชีสที่ทำจากนมวัวนั้นยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือทำจากนมสด และทำจากนมพาสเจอร์ไรซ์

เขาทำชีสกันอย่างไร?

การทำชีส จะนำน้ำนมจาก วัว แพะ หรือ แกะ นำมาใส่สารเคมีเพื่อแยกนมออกจากน้ำ (ในน้ำนมจะประกอบด้วยน้ำ 85% และนม 15%) และใส่สารเพื่อทำให้ชีสมีสภาพความสดได้นาน ตัวนมที่แยกน้ำออก คือ ชีส นั่นเอง

ชีสที่นิยมของประเทศต่างๆดังนี้

-ชีสจากฝรั่งเศส เช่น Brie (บรี)

-ชีสจากอิตาลี เช่น Mozzarella (มอสซาเรลล่า)

-Parmigiano reggiano (พาร์มิจาโน เรจนิอาโน) หรือ พาร์มาซาน นั่นเอง

-ชีสจากอังกฤษ เช่น Cheddar (เชดดาร์)

-ชีสจากเนเธอร์แลนด์ เช่น Edam (อีดัม) Guada (เกาด้า)

Saturday, September 10, 2011

:: ความตกลงเชงเกน ::

ความตกลงเชงเกน (อังกฤษ: Schengen Agreement)





เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรปประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศรวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้ หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง