Friday, December 31, 2010

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่

ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

Friday, December 24, 2010

Christmas day

คริสต์มาส คริสมาส

เป็น การฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า " คริสต์มาส " เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038 และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ใน ภาษาไทย " คริสต์มาส " ก็มีความหมาย เช่นกัน คำว่า "มาส" แปลว่า "เดือน" เทศกาลคริสต์มาสจึง เป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพิเศษ คำว่า"มาส" คือ"ดวงจันทร์" ตีความหมายในภาษาไทยคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์ เป็นความสว่างในตอนกลางคืน Merry X'mas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า"สันติสุขและความสงบทางใจ" คำ นี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ ถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศประเพณี นี้ ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

ซานตาคลอส ซานต้าครอส

วัน คริสต์มาสนี้เริ่มตั้งแต่คริสตวรรษที่4 มีนักบุญคนหนึ่งชื่อ "นิโคลาส " หรือ "เซนต์นิโคลาส" ท่านเป็นนักบุญ ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเป็นเด็กหนุ่ม ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งแคว้นไมรา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี ท่านได้กลายเป็นนักบุญอุปถัมถ์ประจำชีวิตเด็กๆในประเทศอังกฤษ จะเรียกคุณตาใจดีว่า "คุณพ่อแห่งวันคริสต์มาส" ( Father Christmas ) เด็กเยอรมันนีเรียกว่า "ญาติแห่งพระคริสต์ " ( Christ Child ) เด็กชาวดัชท์เรียกว่า "ซาน นิโคลาส" หรือ "Sankt Klous" ในที่สุดกลายเป็น " ซานตาคลอส " ติดปากเด็กๆทั่วโลก ใน ปี ค.ศ. 1866 นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน ชื่อ โธมัส แนส เป็นคนแรกที่วาดภาพของ ซานตาคลอส ขึ้นมาลักษณะเหมือนที่เรา เห็นทุกวันนี้ ลงพิมพ์ในหนังสือ "Horpers Weekly"เป็นครั้งแรกใบหน้าของซานตาคลอส เป็นสีแดงอมชมพูเหมือนกลีบกุหลาบ จมูกแดงเหมือนผลเชอรี่สุก นัยน์ตาสุกใสเป็นประกาย หนวดเคราสีขาวท่าทางใจดี ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียง ตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย คือความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง และที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กๆคือ ของขวัญ ของขวัญ และ ของขวัญ

ต้นคริสต์มาส

ใน สมัยโบราณหมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ตั้งแต่ศตวรรษที่11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาสและเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลางเพื่อประดับฉากแสดง ถึง บาปกำเนิดของอาดัมและเอวาต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาง่าย ที่สุดในประเทศเหล่านั้น

การ แสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้นกลายเป็นการเล่น เหมือน ลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดายที่ ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆแบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกกัน จากนั้นก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ลและแขวนแผ่นขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหา สนิท ซึ่ง ก็มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญ อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ เรา จะเห็นได้ว่าวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระบุตร ของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระองค์เป็นพระเจ้า ที่จะอยู่กับเราตลอดไป เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เป็นพี่หัวปีที่จะนำมนุษย์ทั้งมวลไปสู่พระบิดาเจ้า พระองค์เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ ตามคำ สัญญาของพระเจ้าที่จะดูแลป้องกัน รักษาเราผู้เป็นประชากรของพระองค์



Wednesday, December 15, 2010

เรื่องน่าแปลกของการหาวนอน


นักจิตวิทยาเพิ่งพบความจริงว่า

การหาว นอนนับเป็นคุณมากกว่าโทษ เป็นความพยายามของร่างกาย ที่จะป้องกันมิให้เกิดการหลับใน คงให้มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเอาไว้

นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยอัลบานีที่กรุงนิวยอร์ก ได้พบความจริงจากการศึกษากับนักศึกษา 44 คนว่า

ที่ ถูกแล้วการหาวเป็นการปั๊มอากาศที่เย็นกว่าเข้าไปในสมอง เพื่อให้สมองคงสดชื่นตื่นตัว เพราะได้หลักฐานว่าสมองที่ได้รับอากาศเย็นจะทำงานคล่องขึ้น

นักวิจัยได้พบระหว่างการศึกษาว่า

นัก ศึกษาผู้ที่หายใจทางจมูกมากกว่าทางปาก มักจะไม่ค่อยหาว เมื่อดูวีดิโอหรือเห็นเพื่อนหาว เพราะเหตุว่าเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกได้ส่งอากาศเย็นไปเลี้ยงสมองอยู่เรื่อย ดังนั้น การหาวจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหลับใน มากกว่าจะเป็นอาการเริ่มแรก

พวกเขายังพบด้วยว่า

เหตุ ที่อาการหาวนอนเกิดติดต่อกันได้ อาจจะเป็นกลไกสำหรับช่วยหมู่คณะให้คงตื่นตัวเอาไว้ในยามที่มีภัยมา “และได้บอกเสริมว่าต่อไปเมื่อเห็นใครเกิดหาว ขณะที่กำลังเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง ก็อย่าไปคิดเป็นอื่น นอกจากมันเป็นกลไกทางจิตวิทยา เพื่อจะช่วยให้ผู้ฟังยังคงรักษาความสนใจอยู่ จึงควรจะชมเชยมากกว่าจะคิดเป็นอย่างอื่น”.

Saturday, December 4, 2010

ที่มาของ หมากฝรั่ง

หมากฝรั่งเกิดจาก ยางสีขาวขุ่นของต้นไมในตระกูลละมุด (ผลละมุด) นั่นแหล่ะ บางทีเรียกว่า "ซิเคิล" (chicle) ที่ชาวมายันแห่งประเทศเม๊กซิโกนำมาเคี้ยวบริหารฟันบริหารกรามมาแต่โบราณ เป็นหลายศตวรรษย้อนหลัง ในปี ค.ศ.1845 นายชาร์ลส์ อดัมส์ (Charles Adams) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้ยางชิเคิลมา เขาสนใจยางนี้มาก แต่ไม่ใช่เพื่อเคี้ยว หากแต่นำมาทำยางหนังสติ๊ก หน้ากาก รองเท้าบู๊ท หากทว่าสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาเอายางชิเคิลมาเคี้ยวเล่นตามแบบฉบับดั้งเดิมเขาเกิดความคิดใหม่ขึ้นมา ทันที เขาสามารถผสมรสชาติลงในยางชิเคิลได้ ไม่นานหลังการทดลองครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ เขาก็เปิดโรงงานผลิตหมากฝรั่งแห่งแรกของโลก ต่อมา ค.ศ.1869 นายวิลเลียม เอม เซมเพิล (William F. Semple) ทันตแพทย์จากรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำหมากฝรั่งอันนี้มาพัฒนาต่อ เพื่อสนับสนุนให้คนเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อบริหารกรามรักษาสุขภาพฟัน โดยเขาใส่ส่วนผสมที่ช่วยในการขัดฟัน ประเภทยาง ชอล์ก ถ่าน และผงรากลิโคริช (licorice) แล้วจดทะเบียนสิทธิบัตรตั้งแต่นั้นมา หมากฝรั่งดีต่อเหงือก ดีต่อฟัน แต่ไม่ดีกับสิ่งแวดล้อมฉะนั้นเมื่อเคี้ยวแล้ว จะทิ้งขอให้ทิ้งเป็นที่เป็นทาง

Thursday, December 2, 2010

ที่มาของทางม้าลาย

สัญลักษณ์ของทางลาย ขาว-ดำ ที่มีไว้สำหรับให้คนข้ามถนน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า 'ทางม้าลาย' นั้นแท้จริงแล้วในตอนแรกหาได้เป็นสีขาวกับสีดำอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ไม่ เดิมทีแถบสีสัญลักษณ์ของทางคนข้ามนี้เคยเป็นสีน้ำเงินและสีเหลืองมาก่อน โดยมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก (หลังทำการทอดลองใช้แล้ว) ตามท้องถนนของประเทศอังกฤษราว 1,000 จุด เมื่อปี 1949 เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางที่อนุญาตให้คนสามารถข้ามถนนได้ แต่ก่อนนั้น สัญลักษณ์ของทางข้ามนี้จะอยู่คู่กับ 'เสาโคมไฟสัญญาณบีลิสชา' ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ ปี 1934 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญญาณให้พาหนะที่สัญจรอยู่บนท้องถนนหยุดวิ่ง ชั่วขณะเพื่อให้คนที่อยู่สองข้างทางได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพาหนะต่างๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อโคมไฟสัญญาณบีลิสชาซึ่งมีสีส้มส่องสว่างขึ้น ต่อมา เลสลี ฮอร์น บีลิสชา รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแดนผู้ดี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนำโคมไฟสัญญาณดังกล่าวมาติดตั้งก็คิดว่าน่าจะมีการ เพิ่มสัญลักษณ์ที่ เป็นแถบสีบนพื้นถนนบริเวณที่มีการติดตั้งโคมไฟสัญญาณเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถ ใช้ถนนเห็นได้เด่นชัดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ของทางข้ามที่มีแถบสีจึงถือกำเนิดขึ้น จากนั้นก็มีการทดลองใช้สีขาว-แดง และสีขาว-ดำ ทาเป็นสัญลักษณ์ แล้วในปี 1951 สัญลักษณ์ของทางข้ามที่เป็นแถบสีขาว-ดำก็ถูกนำมาใช้คู่กับโคมไฟสัญญาณบีลิ สชาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พร้อมกับได้ รับการขนานนามว่า 'ทางม้าลาย' เนื่องจากมีลักษณะเหมือนลายของม้าลายนั่นเอง ต่อมาอังกฤษได้นำไอเดียดังกล่าวไปใช้กับประเทศอาณานิคมของตัวเอง เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทางม้าลายจึงกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากลไปโดยปริยาย